วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พระภควัมบดี



ควัมปติ มหาเถโร” ตามบาลีกล่าวว่า พระภควัมบดีท่าน ได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราว่า เป็นอัครสาวกผู้เป็นเอกทัคคะผู้หนึ่งในการทรงไว้ซึ่งความเฉลี่ยวฉลาด ในการอธิบายความแห่งธรรมที่ย่อให้พิศดารได้ยอดเยี่ยมกว่าสาวกองค์อื่นใด
ประวัติเดิมของท่าน ตามพระบาลีว่าท่านกำเนิดมาจาก ตระกูลพราหมณ์ – ปุโรหิต กัจจายนะโคตร์ของกรุงอชเชนี นามเดิมของท่านคือ “กาญจน์” ที่ท่านได้ชื่อดังนี้เพราะท่านมีวรรณะงดงามดังทอง ได้ศึกษาเล่าเรียนไตรเพทตามตระกูลจนเจนจบ ได้เป็นพราหมณ์ปุโรหิตแทนบิดาในสมัยพระเจ้าจันทรปัตโชติ เมื่อท่านได้ฟังธรรมเทศนาในสำนักพระศาสดาของเราแล้วก็ได้บรรลุพระอรหันต์ ต่อเมื่อภายหลังท่านได้อุปสมบทด้วยอหิภิกขุอุปสัมปทา
พระมหากัจจายนะ เป็นผู้ที่มีพรรณ์และวรรณะ งดงามตามพระบาลีกล่าวว่า สุวรรณโณจวนณณัง คือ มีผิวเหลืองดั่งทองคำ มิว่าท่านจะไป ณ สถานที่ใด เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างพากันสรรเสริญว่า ท่านคือพระศาสดาเสด็จมาแล้ว เพราะเหตุที่ท่านมีรูปโฉมละม้ายเหมือนพระศาสดานั้นเอง เมื่อเป็นดังนี้ท่านก็คิดว่า การที่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญท่านครั้งนี้เป็นการไม่สมควร อย่างยิ่ง ท่านจึงกระทำอิทธิฤทธิ นิมิตกายให้เตี้ยงลงจึงดูคล้ายท้องพลุ้ย ปฐมเหตุครั้งนี้เองท่านโบราณาจารย์จึงได้ถือเอาปางกระทำอิทธิฤทธิเป็น รูประลึก เช่นพระปิดตา และพระสังกระจาย จึงก่อนกำเนิดขึ้นมา ด้วยประการฉะนี้

ลักษณะ เด่นของพระปิดตานั้น นับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง "นัย" หรือ "ปริศนาธรรม" แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้

ความหมายเบื้องต้นแห่งการปิดตาก็คือ
การปิด "ทวาร" หรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ซึ่งเราชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์ (หรือสัตว์) มี "ทวาร" หมายถึง ประตูแห่งการเข้าออก ๙ ทาง ได้แก่ ตา ๒ จมูก ๒ หู ๒ ปาก ๑ รวมทั้ง ช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและ ด้านหลังอีก ๒ รวมเป็น ทวารทั้ง ๙

การ ปิดกั้นทวารทั้ง ๙ เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณาจารย์ที่สร้างพระปิดตา (หรือปิดทวาร) ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น